เริงซเราะซเร็น

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ชื่อเดือนที่ใช้เรียกนับในภาษาถิ่นเขมรสุรินทร์

ชื่อเดือนที่ใช้เรียกนับในรอบปีของภาษาเขมรสุรินทร์



บรรพบุรุษชาวเขมรสุรินทร์และคนสูงอายุในพื้นที่ คุ้นชินกับการนับวันเดือนปี
ทางจันทรคติและชื่อในภาษาท้องถิ่น ภาษาเขมรมีรากฐานเดิมจาก ภาษาสันสกฤต
จึงได้นำมาเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และอิทธิพลของภาษาในการออกเสียงใกล้เคียงกัน
ชื่อเดือนในรอบปีที่ใช้เรียกมีดังนี้

เดือนในปีปฏิทิน  ชื่อภาษาไทย      ชื่อภาษาเขมร   ชื่อภาษาสันกฤต     จารึกภาษาเขมร

   ธันวาคม          เดือนอ้าย             แคเมียะตูจ           มฤคศิรมาส
   มกราคม          เดือนยี่                 แคเบ้าะ ฮ์              บุศยมาส
   กุมภาพันธ์       เดือนสาม              แคเมียะทม           มาฆมาส
  มีนาคม            เดือนสี่                 แคปะกุน               ผาลคุณมาส
  เมษายน           เดือนห้า                แคแจด                เจ ตรมาส                แจต  (caet caert )
  พฤษภาคม      เดือนหก               แคประซะฮ์            ไพศาขมาส            บิสาค ( bbhisak )
  มิถุนายน         เดือนเจ็ด               แคเจษ์                  เชษฐ มาส              เชษฐ์ (jess)
  กรกฎาคม       เดือนแปด              แคอาสาด             อาสาฒามาส
  สิงหาคม         เดือนเก้า               แคสราบ                ศราวณะมาส
  กันยายน       เดือนสิบ           แคพ็อดระบ็อด(แคเบ็น)  พัทธรปิทมาส    ภัทรบท (bhadrapan)
  ตุลาคม         เดือนสิบเอ็ด     แคอาโสจน์ (แคจแน็ย)   อาศวยธมาส    อาซยุช (asujj)
 พฤศจิกายน    เดือนสิบสอง    แคกระเดอะ                   กรรติกมาส        กรรดึก กัตติก (karkak)

 วัน หรือ ไง ที่ใช้เรียกในภาษาเขมรสุรินทร์

ชนเขมรสุรินทร์โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ ยังคุ้นกับการเรียกวันคืนแบบจันทรคติกันอยู่ดังนี้

ภาษาไทย (เซม)    ภาษาเขมรสุรินทร์          ภาษาไทย        ภาษาเขมรสุรินทร์

ข้างขึ้น                    คาง คเนิด                       ข้างแรม            คาง ระนูจ

  ขึ้น ๑ ค่ำ                มูย เกิด                      แรม ๑ ค่ำ              มา รูจ, มูย รูจ
  ขึ้น ๒ ค่ำ                ปิร เกิด                      แรม ๒ ค่ำ              ปิร รูจ
  ขึ้น ๓ ค่ำ                แบ็ย เกิด                   แรม ๓ ค่ำ              แบ็ย รูจ
  ขึ้น ๔ ค่ำ               บูน เกิด                      แรม ๔ ค่ำ              บูน รูจ
  ขึ้น ๕ ค่ำ               ปรำ เกิด                    แรม ๕ ค่ำ               ปรำ รูจ
  ขึ้น ๖ ค่ำ                ปรำ มูย เกิด              แรม ๖ ค่ำ               ปรำ มูย รูจ
  ขึ้น ๗ ค่ำ                ปรำ ปิร เกิด              แรม ๗ ค่ำ               ปรำ ปิร รูจ
  ขึ้น ๘ ค่ำ                ปรำ แบ็ย เกิด           แรม ๘ ค่ำ              ปรำ แบ็ย รูจ
  ขึ้น ๙ ค่ำ                 ปรำ บูน เกิด             แรม ๙ ค่ำ              ปรำ บูน รูจ
  ขึ้น ๑๐ ค่ำ             ด็อบ เกิด                   แรม ๑๐ ค่ำ             ด็อบ รูจ
  ขึ้น ๑๑ ค่ำ            มูย ตะ น็อบ เกิด       แรม ๑๑ ค่ำ              มูย ตะน็อบ รูจ
  ขึ้น ๑๒ ค่ำ            ปิร ตะน็อบ เกิด        แรม ๑๒ ค่ำ              ปิร ตะน็อบ รูจ
  ขึ้น ๑๓ ค่ำ          แบ็ย ตะน็อบ เกิด      แรม ๑๓ ค่ำ               แบ็ย ตะน็อบ รูจ
 ขึ้น ๑๔ ค่ำ     บูน ตะน็อบ เกิด ไง ก็อร   แรม ๑๔ ค่ำ   บูน ตะน็อบ รูจ ( ไง ดัจ ถ้าเดือนนั้นมีถึงแค่แรมสิบสี่ค่ำ  เรียก แค ขาด )
 ขึ้น ๑๕ ค่ำ     ปรำ ตะ น็อบ เกิด ไง เป็ยญ บ็วรฺ   แรม ๑๕ ค่ำ   ปรำ ตะน็อบ รูจ ( แค เป็ยญ  คือ เดือนเต็มเดือน )                           

ทุกข์ทั้งปี ภาคเดือนภาษาเขมรสุรินทร์

แคเมี๊ยะตูจเดือนอ้ายหน่ายชีวิต
ในดวง จิตขื่นขมตรมหนักหนา
ไร้สุขทุกข์ท้อหนอธันวา
ต้องอำลาพอศอเก่าเศร้า ฤดี

แคเบ๊าะห์มกราไม่ซาเศร้า
โศกรุมเร้ามิห่างเลือนหนอเดือนยี่
แค เมี๊ยะธมยังซมทุกข์รุกชีวี
กุมภาเยือนเดือนสามนี้มีแต่ตรม

แคปกุน เดือนสี่มิมีสุข
เจอแต่ทุกข์มาบุกใจไร้สุขสม
เศร้ามาเยือนเมื่อเดือน สี่มีนาคม
ชีพจ่อมจมอมโรควิโยคทรวง

แคแจ๊ดเดือนห้าเมษายน
ยัง ทุกข์ทนจนเดือนห้ามาลาล่วง
แคปซะห์ปบะห์คลังทุกข์ทั้งปวง
ยังหนัก หน่วงเดือนหกตกพฤษภา

แคเจ๊ะเดือนเจ็ดเบ็ดเสร็จทุกข์
จะนั่งลุก ทุกข์ล้อมตอมตัวข้า
ซึ้งรสทุกข์ที่บุกเยือนเดือนมิถุนา
แคอาสาดกรกฎา ข้ายังตรอม

เดือนแปดน้ำตาคลอหนอชีวิต
ฟ้าลิขิตให้ทุกข์ทนจนผ่าย ผอม
แคซราบเดือนเก้าเศร้าสุขงอม
สิงหาคมตรมกับตรอมยอมจำนน

แค เบ็นเดือนสิบรีบเซ่นไหว้
ให้ทุกข์หายโศกหดหมดความหม่น
จัดสำรับแซนโดน ตากันยายน
รวมญาติตน...ฅนเขมร...เซ่นยายตา

แคจแน็ยออกพรรษาตุลาคม
เดือน สิบเอ็ดหนาวลมตรมหนักหนา
ผิวแห้งแล้งเท้ากาแร้งแฝงเข้ามา
ส้นบาทาแตก ลายอายฟ้าดิน

แคกเดอะเดือนสิบสองนองน้ำเนตร
ทุกข์เทวษเหตุเพราะ เขาเฝ้าดูหมิ่น
พฤศจิกา...ตัวข้าไม่..อยากได้ยิน
เศร้าชีวินสิ้นสุข ....ทุกข์ทั้งปี.


ภาคภาษาไทย
ทุกข์มาเยือนเมื่อเดือนอ้ายหน่ายชีวิต
ในดวงจิตขื่นขมตรมหนักหนา
ไร้ซึ่งสุขทุกข์ท้อหนอธันวา
ต้องอำลาพอศอเก่าเศร้าฤดี
 
ทุกข์หนักหนามกราไม่ซาเศร้า
โศกรุมเร้ามิห่างเลือนหนอเดือนยี่
ชีพขื่นขมซมด้วยทุกข์รุกชีวี
กุมภาพันธ์เดือนสามนี้มีแต่ตรม

วันคล้อยเคลื่อนเดือนสี่มิมีสุข
เจอแต่ทุกข์มาบุกใจไร้สุขสม
เศร้ามาเยือนเมื่อเดือนสี่มีนาคม
ชีพจ่อมจมอมโรควิโยคทรวง
 
สงกรานต์เยือนเดือนห้าเมษายน
ยังทุกข์ทนจนเดือนห้ามาลาล่วง
พฤษภาข้าแทบคลั่งทุกข์ทั้งปวง
ยิ่งหนักหน่วงเดือนหกโศกชีวา
 
มิถุนาเดือนเจ็ดมิเสร็จทุกข์
จะนั่งลุกทุกข์ล้อมตอมตัวข้า
ซึ้งรสทุกข์ที่บุกเยือนเดือนมิถุนา
ถึงกรกฎาข้านี้มีแต่ตรอม
 
เดือนแปดน้ำตาคลอหนอชีวิต
ฟ้าลิขิตให้ทุกข์ทนจนผ่ายผอม
ทุกข์มิเลือนจนเดือนเก้าเศร้าสุกงอม
สิงหาคมตรมกับตรอมยอมจำนน
 
ถึงวันสาร์ทเดือนสิบรีบเซ่นไหว้
ให้ทุกข์หายโศกหดหมดความหม่น
จัดสำรับแซนโดนตากันยายน
รวมญาติตนอิสานใต้ไหว้ยายตา
 
เดือนสิบเอ็ดออกพรรษาตุลาคม
ชีพขื่นขมลมหนาวทักตรมหนักหนา
ผิวแล้งแห้งเท้ากาแร้งแฝงเข้ามา
ส้นบาทาแตกลายอายฟ้าดิน
 
พฤศจิกาเดือนสิบสองนองน้ำเนตร
ทุกข์ด้วยเหตุถูกเขาเฝ้าดูหมิ่น
เหมันต์เยือนเกลื่อนด้วยทุกข์รุกชีวิน
น้ำเนตรรินสิ้นสุข....ทุกข์ทั้งปี.

...........
แม้แต่พญาช้างสาร ก็ยังชีพได้ ด้วยพืชผัก ผลไม้เท่านั้น

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประเพณีขึ้นเขาสวาย

ประเพณีขึ้นเขาสวาย

เขาพนมสวายมีความสำคัญกับชาวสุรินทร์มาช้านาน บรรพบุรุษถือว่าเป็นสถานที่แสวงบุญ เมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำ
เดือน 5 ของทุกปีซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ ประชาชนในท้องที่พร้อมใจกันหยุดงานไปทำบุญ
ขึ้นเขาสวายกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา
จนถึงปัจจุบันในปีนี้วันขึ้นเขาพนมสวาย ตรงกับวันจันทร์ ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554 

ประเพณีแคแจ๊ด
เรือมตร๊ด 



-- แคแจ๊ดหรือเดือนห้าชาวเขมรพื้นบ้านสุรินทร์ถือเอาวันขึ้น 1 - 3 ค่ำเดือน 5 ของทุกปี เป็นวันตอมตูจ  แรม 1 - 8 ค่ำ
เดือน 5 เป็นวันตอมธม ( คุณยาย สำรีบ เกลียวทอง 22/2 ม. 9 ต.นาบัว ผู้ให้ข้อมูล )
การตอมนี้มีความเชื่อว่าให้หยุดการปฏิบัติงานต่างๆทั้งหมดหากใครฝ่าฝืนจะมีอันเป็นไป นอกจากมีการตอมแล้ว
                                   การเล่นอังกุย ( สะบ้า ) สงกรานต์ 2555
ตลอดทั้งเดือนนี้มีการละเล่นรื่นเริง ได้แก่ เล่นอังกุย ( ลูกสะบ้า ) เรือมอันเร และเรือมตร๊ด



นิยมเล่นในแคแจ๊ดโดยรวมกลุ่มกัน มีพ่อเพลง แม่เพลงผู้สันทัดร้องนำ มีอาสาสมัครเยาวชนหนุ่มสาว ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน
เป็นผู้ร่วมขบวนร้องตามและรำ การแต่งตัวในสมัยก่อนนิยมแต่งสลับเพศเช่นผู้หญิงนุ่งโสร่ง คาดผ้าขาวม้สา เขียนหนวด
ส่วนผู้ชายทัดดอกไม้เป็นต้น เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบด้วย ซอ กลอง ปี่ และฉิ่งฉับ ( สุดแล้วแต่มีนักดนตรี
ในหมู่บ้าน )
จุดประสงค์ในการเล่นนี้ เพื่อขอบริจาคตามศรัทธาจากคนในหมู่บ้าน

และหมู่บ้านใกล้เคียง โดยเอาปัจจัยสิ่งของที่ได้ถวายวัด
การร้อง-เรือมตร๊ดเป็นการละเล่นที่สนุกสนานและชักชวนบริจาคดังบทร้องต่อไปนี้
"แมเวย...ซอมโสด แมเวย..ซอมซ็อบ  ซอมประเฮาะกันจ็อบ เกริน โจจ กะเดิ๊บซวาย.."
เมื่อคณะเรือมตร๊ดไปเยือนถึงบ้านจะมีการตั้งขบวนตั้งแต่ประตูทางเข้า พ่อเพลง แม่เพลงเริ่มร้องนำ ซึ่งมีบทร้องหลักๆ
เรียงลำดับ
คร่าวๆได้ดังนี้ บทร้องขออนุญาตเข้าไปเล่น บทร้องกล่าวถึงจำนวนผู้คนมาร่วมขบวน และบทสุดท้ายคือบทให้พรก่อนลา
"แมเมียนโกนเปราะห์ ออยโตมกะบาลตัมแร็ย  ( แม่มีลูกชายให้ได้

นั่งบนคอช้าง ความหมายคือให้ได้บวชเรียน สมัยก่อนเวลาบวชให้นาคขี่ช้าง ) แมเมียนโกนสแร็ย ออยโตมแก็ยจันละ แจะห์กูร แจะห์ฉละ
แจะห์ปะตะโบงคเนย แจะห์การ์ซ็อบเฮย ซอมเลียแมยัวปแด็ย.." 
 ( แม่มีลูกสาวให้ได้ทอผ้า รู้จักแกะสลัก ปักหมอน เก่งงานทุกอย่าง
ค่อยลาแม่มีสามี )
ปัจจัยสิ่งของต่างที่ได้จากการเรือมตร๊ด ชาวบ้านจะรวมตัวกันทำบุญ

 อัญจูนกะสัจ ก่อเจดีย์ทราย ตั้งศาลเพียงตา ยกธงชัยฉลองหมู่บ้าน
โดยนิมนต์พระมาสวดประกอบพิธีในตอนเย็น พรมน้ำมนต์เพื่อความ

เป็นสิริมงคล กลางคืนมีการละเล่นกันตรึม ลูจอันเรหรือเรือมอันเร
เพื่อสมโภชน์เจดีย์ทราย ตอนเช้ามีพิธีตักบาตรเลี้ยงพระ สรงน้ำ

พระพุทธรูปและพระสงฆ์ ถวายปัจจัยสิ่งของที่ได้จากการ
เรือมตร๊ดเป็นเสร็จพิธี.
แม้แต่พญาช้างสาร ก็ยังชีพได้ด้วยพืชผักผลไม้เท่านั้น.