เริงซเราะซเร็น

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

สำนวน สุภาษิตของชนเขมรพื้นถิ่นสุรินทร์




เรื่องสำบัดสำนวน คำคม มีขึ้นในทุกภาษา เสมือนเป็นเครื่องตกแต่ง
ให้ภาษานั้นๆงดงาม มีเสน่ห์ บ่งบอกถึงภูมิปัญญาของคนโบราณ
ที่สามารถคิดค้นถ้อยคำคมขึ้นมาได้อย่างลึกซึ้งกินใจ
ดังสำนวนภาษาเขมรพื้นถิ่นสุรินทร์ต่อไปนี้

อ็อจ จัน เลาะห์ ปัน จัง ทไง   ( จุดไต้ย้อนตะวัน ) ความหมายคือ
รู้ว่าตัวเองมีกำลังน้อยยังอยากจะต่อกรประจัญกับผู้ที่มีอำนาจมากกว่า

เชอบะ อาระ ปเอิล     (  ไม้หักเทพารักษ์แตกตื่น )

กาย ก็อบ ตล้อบ เจือน  ( กลืนไม่เข้าคายไม่ออก )

สร็วล มาปัง กุย จแก  ( มีความสบายเท่าเวลาสุนัขนั่ง )

ระวอก ระวาก โกน มนึ มึมึ โกนจอร ( โอภาปราศรัยเป็นลูกคน เงียบขรึมเป็นลูกผู้ร้าย )

ตะแล็ย ยัง ซะบะแล็ย ( มือเติบยังกับโปรยข้าวตอก )

ชอง แม็ก ด็อล ( หยิบเมฆถึง พูดใหญ่โตโอ้อวด)

อัน เลิก เบิก เกอะ  ( ลำเลิกบุญคุณ )

เจิง มัน เตือน เชียน ได บ็อง บอย  ( ทำนองพูดก่อนทำ ท่าดีทีเหลว )

ชือ ปัน ซอม เด็ก  ( สร้างสถานการ ทำนองเกียจคร้าน )

เลิก ตระปูก ยัง คยอง  ( พูดโอ้อวด )

คลา ทะเลี๊ยะ โนง อันลุง เว็ย แทม  ( เหมือนทุกข์ซ้ำกรรมซัด )

อัน แย็ย มัน รูจ ฮูจ มัน แจ็น  ( พูดไม่ออกบอกไม่ถูก )

กมัย ชะลั๊วะ เนิง ซเร็ย กมัย กะเด็ย เนิง เจ็น ( อย่าทะเลาะกับสตรี อย่ามีคดีกับเจ๊ก )

คเลียน ค็อม อ็อจ กำซ็อจ คอม รัว ( อดทนขยันทำงาน )

เวก ตะโมล จะ ( ร่ำรวยมหาศาล )

จโรด ซเบิว บัง เวียล ( การทำอะไรที่เสียแรงเปล่า )

เดอะ เนือม เปือม ยัวร ( ชักนำไป ชักพาไป )




....แม้แต่พญาช้างสาร ก็ยังชีพได้ ด้วยพืชผักผลไม้เท่านั้น.....

เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก