เริงซเราะซเร็น

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประเพณีขึ้นเขาสวาย

ประเพณีขึ้นเขาสวาย

เขาพนมสวายมีความสำคัญกับชาวสุรินทร์มาช้านาน บรรพบุรุษถือว่าเป็นสถานที่แสวงบุญ เมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำ
เดือน 5 ของทุกปีซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ ประชาชนในท้องที่พร้อมใจกันหยุดงานไปทำบุญ
ขึ้นเขาสวายกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา
จนถึงปัจจุบันในปีนี้วันขึ้นเขาพนมสวาย ตรงกับวันจันทร์ ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554 

ประเพณีแคแจ๊ด
เรือมตร๊ด 



-- แคแจ๊ดหรือเดือนห้าชาวเขมรพื้นบ้านสุรินทร์ถือเอาวันขึ้น 1 - 3 ค่ำเดือน 5 ของทุกปี เป็นวันตอมตูจ  แรม 1 - 8 ค่ำ
เดือน 5 เป็นวันตอมธม ( คุณยาย สำรีบ เกลียวทอง 22/2 ม. 9 ต.นาบัว ผู้ให้ข้อมูล )
การตอมนี้มีความเชื่อว่าให้หยุดการปฏิบัติงานต่างๆทั้งหมดหากใครฝ่าฝืนจะมีอันเป็นไป นอกจากมีการตอมแล้ว
                                   การเล่นอังกุย ( สะบ้า ) สงกรานต์ 2555
ตลอดทั้งเดือนนี้มีการละเล่นรื่นเริง ได้แก่ เล่นอังกุย ( ลูกสะบ้า ) เรือมอันเร และเรือมตร๊ด



นิยมเล่นในแคแจ๊ดโดยรวมกลุ่มกัน มีพ่อเพลง แม่เพลงผู้สันทัดร้องนำ มีอาสาสมัครเยาวชนหนุ่มสาว ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน
เป็นผู้ร่วมขบวนร้องตามและรำ การแต่งตัวในสมัยก่อนนิยมแต่งสลับเพศเช่นผู้หญิงนุ่งโสร่ง คาดผ้าขาวม้สา เขียนหนวด
ส่วนผู้ชายทัดดอกไม้เป็นต้น เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบด้วย ซอ กลอง ปี่ และฉิ่งฉับ ( สุดแล้วแต่มีนักดนตรี
ในหมู่บ้าน )
จุดประสงค์ในการเล่นนี้ เพื่อขอบริจาคตามศรัทธาจากคนในหมู่บ้าน

และหมู่บ้านใกล้เคียง โดยเอาปัจจัยสิ่งของที่ได้ถวายวัด
การร้อง-เรือมตร๊ดเป็นการละเล่นที่สนุกสนานและชักชวนบริจาคดังบทร้องต่อไปนี้
"แมเวย...ซอมโสด แมเวย..ซอมซ็อบ  ซอมประเฮาะกันจ็อบ เกริน โจจ กะเดิ๊บซวาย.."
เมื่อคณะเรือมตร๊ดไปเยือนถึงบ้านจะมีการตั้งขบวนตั้งแต่ประตูทางเข้า พ่อเพลง แม่เพลงเริ่มร้องนำ ซึ่งมีบทร้องหลักๆ
เรียงลำดับ
คร่าวๆได้ดังนี้ บทร้องขออนุญาตเข้าไปเล่น บทร้องกล่าวถึงจำนวนผู้คนมาร่วมขบวน และบทสุดท้ายคือบทให้พรก่อนลา
"แมเมียนโกนเปราะห์ ออยโตมกะบาลตัมแร็ย  ( แม่มีลูกชายให้ได้

นั่งบนคอช้าง ความหมายคือให้ได้บวชเรียน สมัยก่อนเวลาบวชให้นาคขี่ช้าง ) แมเมียนโกนสแร็ย ออยโตมแก็ยจันละ แจะห์กูร แจะห์ฉละ
แจะห์ปะตะโบงคเนย แจะห์การ์ซ็อบเฮย ซอมเลียแมยัวปแด็ย.." 
 ( แม่มีลูกสาวให้ได้ทอผ้า รู้จักแกะสลัก ปักหมอน เก่งงานทุกอย่าง
ค่อยลาแม่มีสามี )
ปัจจัยสิ่งของต่างที่ได้จากการเรือมตร๊ด ชาวบ้านจะรวมตัวกันทำบุญ

 อัญจูนกะสัจ ก่อเจดีย์ทราย ตั้งศาลเพียงตา ยกธงชัยฉลองหมู่บ้าน
โดยนิมนต์พระมาสวดประกอบพิธีในตอนเย็น พรมน้ำมนต์เพื่อความ

เป็นสิริมงคล กลางคืนมีการละเล่นกันตรึม ลูจอันเรหรือเรือมอันเร
เพื่อสมโภชน์เจดีย์ทราย ตอนเช้ามีพิธีตักบาตรเลี้ยงพระ สรงน้ำ

พระพุทธรูปและพระสงฆ์ ถวายปัจจัยสิ่งของที่ได้จากการ
เรือมตร๊ดเป็นเสร็จพิธี.
แม้แต่พญาช้างสาร ก็ยังชีพได้ด้วยพืชผักผลไม้เท่านั้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น